เพิ่มแรงม้า เฟียสต้า #2
กลับมาพบกันอีกครั้ง
ในครั้งนี้เรายังคงวนเวียนอยู่กับเจ้ารถอีโค่คาร์
พะยี่ห้อฟอร์ดคันเดิม
ที่ได้เพิ่มเติมระบบลำเลียงอากาศไปเรียบร้อยแล้ว
อ่านเพิ่มแรงม้าด้วยอากาศได้ที่ลิงค์นี้
หลังจากที่ทำการเพิ่มอากาศเข้าไปให้เครื่องได้หายใจหายคอมากขึ้น เจ้าของก็เอาเจ้าตัวเล็กออกอาละวาดสนุกสนานได้ระยะใหญ่
แน่นอนตราบใดที่ยังเป็นมนุษย์ เราย่อมไม่มีความพอ
และก็ในยุคที่สิ่งเร้ามันถาโถมวนเวียนผ่านหน้าจอโทรศัพท์แบบนี้
ก็ย่อมทำให้กิเลสมันพาให้มือลั่นได้ง่ายๆ
จากสมการ อากาศ + น้ำมัน + จุดระเบิด = ความร้อน ที่ได้กล่าวมา
แล้วในบทความแรกนั้น
จะเห็นได้ว่า พอจะมีที่ว่างให้เติมเต็มสมการนี้
ได้อีก
ในเมื่ออากาศมาพร้อมเสิร์ฟแล้ว ระบบน้ำมันหละ จะไปต่อได้อย่างไรบ้าง
แน่นอนว่าทางออกในการเพิ่มน้ำมัน แบบง่ายๆที่นิยมกันก็อาทิ
ส่งรถไปรีแมพ
ซึ่งขออธิบายขยายความกันสักหน่อย ดังนี้
ในยุคสมัยปัจจุบัน รถยนต์ล้วนควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์
ที่ประมวลผลผ่านเซ็นเซอร์ต่างๆ ก่อนจะสั่งให้เกิดการ ฉีดน้ำมัน
จุดระเบิด
หรือแม้กระทั่ง เชนจ์เกียร์ลงต่ำในยามลงเนินเขา
เจ้าคอมพิวเตอร์ที่ว่ามาในรูปของกล่อง ที่มีสายไฟป้อนเข้าไป
เรียกกันได้หลากหลาย
อาทิ ECU,ECM
จากที่กล่าวมาข้างต้น เราจะเห็นว่าเฮ้ย มันคอมพิวเตอร์นี่หว่า
งั้นเราก็โปรแกรมมันใหม่สิ
แน่นอนว่าแต่ละค่ายผู้ผลิต
ก็ย่อมจะพยายามปิดกั้นเพื่อไม่ให้เราสามารถปรับเปลี่ยนอะไรได้ตามใจ
แต่แน่นอน ไม่มีใครฉลาดไปทั้งหมด สุดท้ายให้ล๊อคยังไง
ก็ยังมีคนเปิดเข้าไปแก้ไข
ค่าต่างๆในฐานข้อมูลของกล่องได้อยู่ดี
นี่คือเรื่องของปัจจุบัน ที่สามารถทำกันได้แบบ เรียลไทม์
ขับไปเขี่ยไปอะไรแบบนั้น โดยอาศัย จูนเนอร์
ที่มีความเข้าใจในเรื่องของเครื่องยนต์
และ การปรับแต่งเครื่องยนต์
คีย์ค่าต่างๆลงไปในฐานข้อมูล
อาทิช่วงนี้คันเร่งเปิดเต็ม
เราบูสท์เทอร์โบเพิ่มขึ้น และเพิ่มน้ำมันมากขึ้น
พร้อมกับลดองศาจุดระเบิดลง
แต่ในทางกลับกัน ถ้าหากมือดีที่มาจูนรถให้เรานั้น ทำได้เพียง
copy /paste ทุกอย่างก็อาจจะกลายเป็นจูนน่วม
เลยก็ว่าได้
และอาจถึงขั้น ต้องบอกลาเครื่องยนต์สุดที่รักกันไปเลย
เอาหละเข้าใจภาพของปัจจุบันกันแล้ว เรามาย้อนวัยกันไปสัก
สิบยี่สิบปี ในสมัยที่การจูนรถยังต้องอาศัย
คนที่มีความรู้ทั้งเครื่องยนต์ และ อิเลคทรอนิคส์ รวมถึง คอมพิวเตอร์
รวมกันในคนเดียว .....ถามสิหายากมั้ย แน่นอนว่าใครทำได้ก็ขึ้นแท่น
ปรมาจารย์ไปเลย แต่ในอีกด้านการมองโลกมุมกลับก็ยังคงมีอยู่
“ในเมื่อกล่องรับรู้ทุกสิ่งจากเซนเซอร์
ทำไมเราไม่ไปแก้ที่เซนเซอร์หละ”
สิ่งนี้เป็นที่มาของอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆอีกสารพัด
ที่มีความซับซ้อนน้อยกว่าและเน้นไปทางอิเลคทรอนิคส์ เพียงด้านเดียว
เอาหละร่ายมาซะยาว ถึงคราวจะไปต่อแล้ว
หลังจากที่มองหาตะเกียงวิเศษ ที่จะเพียงแค่ถูแล้วได้น้ำมันตามใจฝัน
ก็ถึงจุดที่ต้องมานั่งคิดว่า เราจะเลือกทางไหน
ในงบประมาณที่ประหยัดที่สุด
ทางแรกคือยกหูโทรหาจูนเนอร์
โบกให้มาจูนให้หน่อย แล้วก็รับผลที่ได้จากการจูน
ไม่ว่าจะรุ่งหรือร่วง ข้อดีคือ
ปรับได้หลากหลายทั้งน้ำมัน
ระบบจุดระเบิด ฯลฯ
ทางที่สองคือหาอุปกรณ์
ปรับลดน้ำมันมาต่อพ่วงกับกล่องเพื่อปรับจูนเอง
ข้อดีคือปรับตามอำเภอใจเมื่อไหร่ก็ได้ที่ต้องการ
แต่ไม่สามารถปรับระบบจุดระเบิดได้
เพราะตัวอุปกรณ์สามารถปรับได้
เฉพาะน้ำมัน สรุปในราคาที่เท่าๆกัน
จึงตกลงปลงใจเลือกแบบหลังด้วย
เหตุผลดังนี้ ข้อแรก เพื่อความสนุก
เชื่อผมเถอะว่าอะไรก็ตามที่มันสนุกคุณจะมีความสุขกับมันได้นานขึ้น 5555
ข้อสองถึงมันจะไม่ได้เรื่องก็ยังถอดไปใส่รถคันอื่นๆได้อีกหลายคัน
และเจ้าอุปกรณ์ที่เข้าตาภายใต้งบประมาณที่สุดก็คืออุปกรณ์ย้อนยุคตัวนี้
AFC II (จอฟ้า)
ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่าทำไมถึงเลือกเจ้านี่มารับหน้าที่ในการปรับจูน
อุปกรณ์ตัวนี้ ทำหน้าที่ปรับจูนน้ำมัน ตามย่านรอบที่กำหนด
และตามการเปิดปิดของคันเร่ง ซึ่งสามารถแบ่งเป็น
เปอร์เซ็นต์ lo hi ได้
โดยปกติแล้วจะใช้กับระบบคันเร่งสาย
ที่มีเซนเซอร์ เพื่อกำหนดการเปิดปิดของตารางการจ่ายน้ำมันที่เราจูน
ไว้
ซึ่งการปรับน้ำมันนั้นจะเป็นการนำค่าของแอร์โฟลว์
ที่วัดได้จริงมาแก้สัญญาณที่อุปกรณ์ตัวนี้ก่อนจะส่งไปที่กล่อง
คอมพิวเตอร์
ซึ่งค่าที่ส่งไปนั้นจะขึ้นอยู่กับการปิดเปิดของเปอร์เซ็นต์
ลิ้นเร่งด้วย
นอกจากนี้ยังสามารถเซฟข้อมูลได้สองตาราง ซึ่งตารางแรกผมตั้งใจจะเป็นตารางที่จูน
ส่วนที่เหลือคือไม่ได้ปรับจูน
ในกรณีที่ต้องการกลับคืนค่าเดิมจะได้สะดวกไม่ต้องถอดตัวอุปกรณ์ออก
ถ้างงก็คงต้องลองอ่านซ้ำรอบสอง รอบสาม
เอ้า แล้วไอ้เจ้าเปี๊ยกคันนี้มันคันเร่งไฟฟ้า ไหนจะมีช่วง close loop อีก
มันจะใช้กันได้เหรอ นี่หละดีเลยครับ
เพราะเราต้องการให้การแก้ไขค่า
เกิดขึ้นต่อเมื่อถึงเวลากดคันเร่งเต็มเท่านั้น ซึ่ง
ณ ตอนนั้นคอมพิวเตอร์
เองก็อยู่ใน open loop ไปแล้ว
นี่คือจุดที่เราจะจูนได้ส่วนที่เหลือก็ปล่อย
เป็นโหมดประหยัดตามมาตรฐานโรงงานไป เอาเป็นว่าพร้อมรบเมื่อกด
เต็มก็แล้วกัน
เมื่อสรุปทุกอย่างแล้ว พิมพ์รับครับ ลงในmarketplace รอรับของและ
เดินสายไฟ
สำหรับการเตรียมตัวในการวิ่งจูนนั้น ด้านตัวรถก็มีการเจาะ
ท่อไอเสีย เพื่อใส่
O2 sensor ในการวัดส่วนผสมน้ำมัน อากาศ เอาไว้
ว่าแล้วก็เข้านอนแต่หัวค่ำ
แล้วตื่นไปจูนกัน สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการ
วัดส่วนผสมน้ำมัน อากาศ ก็ยังคงใช้ของ innovate
เช่นเดิม
และ
ก็ยังคงเก็บ log file จาก obd2 เพื่อนำมาพลอตกราฟในโปรแกรม
virtual dyno เช่นเดิม
การจูนก็ใช้เวลาสักพักแต่ก็ได้ผลที่น่าพอใจ
เจ้าตัวเล็กได้กล้ามเพิ่มขึ้นมาบ้างแล้ว
มาดูผลกันบ้างว่าเป็นอย่างไร ทางด้านความรู้สึกแน่นอน เครื่องเดินลื่นขึ้น
รอบกวาดไวขึ้น สามารถเร่งได้ไวขึ้นกว่าเดิมอย่างรู้สึกได้ชัดเจน
ในส่วนของโปรแกรม virtual dyno นั้นก็สามารถพลอตกราฟ ได้สอดคล้องกับความรู้สึกเช่นกัน
ทีนี้เราคงต้องมาลองดูผลกันบ้างว่า ก้นของเรารู้สึกไปเอง หรือ ไม่
เนื่องจากผองเพื่อนนั้นชวนกันไปวิ่งสนามควอเตอร์ไมล์
เจ้าของรถจึงตบปากรับคำที่จะไปทดลองวิ่งกับเค้าด้วย
ตัวรถนั้น มีการดูแลค่อนข้างดี เครื่องเกียร์ และระบบระบายความร้อนสมบูรณ์
รวมถึงช่วงล่าง ก็เปลี่ยนใหม่เสมอ
การทดสอบเปรียบเทียบด้วยการวิ่งทั้งใช้ข้อมูลตารางที่จูน (แมพ1) และ
ข้อมูลเดิมๆจากโรงงาน (แมพ2) ทำการวิ่งอยู่ แมพละหลายรอบ จนได้เวลาที่ดีที่สุดเพื่อนำมาเปรียบเทียบ
ภายใต้การรักษาอุณหภูมิยางที่คงที่ในขณะออกตัว ราวๆ 43 องศา
เวลาที่ทำได้ค่อนข้างแตกต่างกันชัดเจนราวๆครึ่งวินาที
บทสรุปของการปรับแต่งน้ำมันเพิ่มนี้เจ้าของมีความสุขไม่น้อย ในการเติมเต็มสมการที่ขาดหาย สำหรับท่านใดที่สนใจแต่ไม่สะดวก หรือสันทัดในการปรับแต่งเอง ก็อาจใช้บริการจูนเนอร์ได้ครับ เพียงแต่ต้องมีการพูดคุยให้เข้าใจ มั่นใจ ในสิ่งที่จะทำลงไปก่อน
ตอนนี้แน่นอนว่าเจ้าของรถก็เริ่มจะมองหาสิ่งใหม่ๆต่อไปอีกแล้ว โอกาสหน้าพบกันครับ สวัสดี
อ่าน เพิ่มแรงม้า เฟียสต้า #3 ที่นี่
หนูทดลองในวันนี้คือ
FORD Fiesta 1.6 Ti-VCT