ฉีดน้ำอินเตอร์ #ปฐมบท


ฉีดน้ำอินเตอร์ ... #ปฐมบท
เนื่องจากรายรอบอยู่กับรถที่ต้องรื้อ ต้องซ่อม ต้องปรับแต่ง วันดีคืนดีก็มี Mitsubishi Evolution iv หรือ อีโว 4 นี่หละมาให้ได้ทำ ก็ไม่ได้ทำอะไรมากมาย แค่จัดการต่อสายชุดฉีดน้ำอินเตอร์คูลเลอร์ ให้เรียบร้อย เนื่องจากของเดิมหลุดลุ่ย หลังจากรื้อมาทำการใส่สายยางต่างๆเรียบร้อยก็ทดสอบการฉีดเป็นอันจบ อ่ะดูคลิปก่อนว่ามิตซูเค้าฉีดยังไง



แต่ความคันมันยังไม่จบแค่นั้น เพราะรถเทอร์โบในครอบครองมีหลายคัน และมีอยู่คันหนึ่งมันร้อนกว่าชาวบ้านเค้า เป็นกระบะดีเซล ที่ร้อนระอุเพราะได้ทำการปรับจูนบูสท์เพิ่ม แต่ยังไม่ได้ทำการเปลี่ยนอินเตอร์คูลเลอร์ เพราะกลัวจะเกิด turbo lag เล่นเอาเวลาซัดต่อเนื่องนานๆมันแรงตกอย่างเห็นได้ชัด ชัดมากจนรู้สึกได้ว่าม้าที่มีหนีไปหลบร้อนอยู่ที่อื่นแล้ว หลังจากจบงาน evo 4 ก็พลางเกิดนึกสนุกว่าอยากฉีดน้ำบ้าง

แต่ก่อนจะทำอะไรลงไป ต้องตอบคำถามตัวเองให้ได้ก่อนคือ กูจะฉีดเพื่อ ???

ก็ต้องย้อนไปขุดคุ้ยความรู้งูๆปลาๆกันเล็กน้อย  เอาเป็นว่าอธิบายแบบเฮงซวย ตามความเข้าใจนะ สมมุติ เครื่องยนต์แม่งคือกล่องหนึ่งใบ ในนั้นมีอากาศอยู่ใช่มะ  อากาศในนั้นหนะมันมีความแน่นจำนวนนึง ที่อุณหภูมินึง หมายความว่า เฮ้ยตอนนี้ในกล่องนี้มีอากาศอุณหภูมิ 60 องศา แม่งก็จะมีความหนาแน่นนจำนวนนึง  หรือตอนนี้ใมกล่องมีอากาศอุณหภูมิ 20 องศา
แม่งก็จะมีความหนาแน่นจำนวนนึง

อ่ะทีนี้ต้องสงสัยกันต่อไปว่า ไอ้อากาศ 60 องศา กับ 20 องศา นี่มันแน่นไม่แน่นยังไงวะ
(เขียนมาถึงตอนนี้ยังไม่รู้ใช้คำถูกมั้ยเลย 555 เพราะตอนเค้าให้เรียนไม่เรียน มัวแต่นั่งอ่านหนังสือรถรา )
ลองมาดูกันต่อจากสิ่งรอบๆตัว จากวิชาอุตุนิยมวิทยาเบื้องต้น ในวันที่โคตรร้อนอากาศร้อนนี่จะเบาบาง มันจะลอยตัวขึ้น  อากาศที่เย็นกว่าหนักกว่าจะอยู่ข้างล่างเสมอ มันจะเข้ามาแทนที่ นี่คือเหตุที่ทำให้เกิดลม และการลอยขึ้นของอากาศยังทำให้เกิดอะไรต่างๆ บลา บลา ว่ากันไป
จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นว่า เฮ้ยถ้างั้นอากาศ 60 องศา แม่งก็เบาสิวะ  ก็ตามนั้นถ้าเราเอาอากาศ 60 องศาอัดเข้าไปในเครื่องแม่งก็ย่อมต้องน้อยกว่าอากาศ 20 องศาป่ะวะ




เรื่องแม่งยังไม่จบแค่นั้นดิ อากาศนี่แม่งยังมีความแปลกได้อีก  คือแม่งเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิตามความดันได้ด้วย เค้าเรียกว่า อะเดียแบติก ชื่อแม่งฟังดูก็เทพๆแล้ว มันคือการที่อากาศเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิด้วยตัวเองโดยไม่ได้รับความร้อนจากอย่างอื่น ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิตามความดันก็อาทิเช่น เราสูบลมจักรยาน อากาศที่ถูกอัดจากปั๊มนี่จะร้อนเลยชิมิ  หรือ ถ้าอากาศขยายตัวหละ  ก็อาทิเราปล่อยลมจำนวนนวนมากออกจากถังลม ลมแม่งจะเย็นเว่อร์ เป็นต้น ทั้งสองอย่างนี้สามารถเกิดขึ้นกับอากาศก้อนเดียวกันได้ ต่างกันแค่ว่าอากาศก้อนนี้จะเจอกับสภาวะไหน
ที่ต้องมาแวะเรื่องความดันด้วยเพราะว่าอะไร เพราะว่า รถที่เรากำลังคุยกันนี่มันดันมีเทอร์โบ พูดง่ายๆ รถเรามีที่สูบลมจักรยานด้วย 55555


เอาหละหลับตามโนกันต่อไป เราขับรถกันที่วันร้อนนรกแตก อุณหภูมิอากาศ 38 องศา เจอเทอร์โบดูดเข้าไป (ความดันเพิ่ม) ขาออกมาจากโข่งก็ลองมโนกันไปสิว่าอุณหภูมิจะโดดไปเท่าไหร่ อากาศที่ร้อนมาแล้วก็จะมาคลายร้อนกันที่อินเตอร์คูลเลอร์ ก่อนจะถูกส่งไปสำเร็จโทษในห้องเผาไหม้ต่อไป มันเลยไม่แปลกที่ท่อก่อนเข้าอินเตอร์คูลเลอร์ ร้อนจี๋เวลาแช่มาเต็มๆ แต่ท่อออกมันอุ่นๆเอามือจับได้

พ่นมาซะนานก็มาเข้าเรื่องซะที เป้าประสงค์หลักของเรื่องนี้คือการลดอุณหภูมิอากาศลง เพราะแน่นอนว่าอากาศที่ถูกอัดมานั้นมันร้อนเกิน ไม่หนาไม่แน่น แถมฝาสูบเครื่องเส็งเคร็งของเรายังไม่สามารถเอาอากาศลงไปได้100%  ไหนจะความร้อนสะสมที่เป็นตัวแปรให้ฉุดกำลังเครื่องตกลงไปอีก ดังนั้นถึงจะมีอินเตอร์คูลเลอร์แล้ว ก็ต้องลองลดอุณหภูมิมันลงไปอีก เพราะว่าเท้าขวามันแช่ค้างมากเกิน

โปรเจคก็เลยบังเกิด หลังจากดูตัวฉีดน้ำของ อีโว แล้วพบว่าแม่งโคตรเลอะเทอะเลย คือฉีดไปเลยเนืองนอง ในใจคิดอยู่ว่ารถกูนี่ปกติก็ผุอยู่แล้ว ถ้าฉีดอีกไม่กร่อนไปเลยเหรอ บวกกับอินเตอร์คูลเลอร์ ในรถนั้นออกแบบมาให้ใช้แลกเปลี่ยนความร้อนแบบ อากาศ สู่ อากาศ งั้นเราก็พรมน้ำเบาๆ กับเอาอากาศเย็นลงเข้ามาปะทะพอมั้ย พอสรุปได้ว่าจะเอาอย่างไรก็เริ่มออกแบบกันคร่าวๆ

อันที่จริงมันก็ไม่มีอะไรมากหรอกระบบฉีด จริงมะ 
ของที่ใช้มีดังนี้  มีสวิทซ์ ถังน้ำ ปั๊ม สาย วาล์วกันกลับ สามทาง และ หัวฉีด

แต่ในสภาพการเงินไม่อำนวยนั้นทุกอย่างต้องลดต้นทุนสิครับ สรุปก็เอาของง่ายๆรอบๆตัวลงทุนแบบไม่กี่บาทไปก่อนละกัน เริ่มจากกระปุกพักน้ำถอดมาจากซาก bmw e30 ที่ดองไว้ แล้วไปซื้อมอเตอร์ฉีดน้ำกระจกมาอันนึง สายยาง  และ จิ๊กหัวพ่นหมอกงานสวน ที่ตุนไว้ทำระบบฉีดน้ำต้นไม้ให้แม่มาอัน

ลงมือทำกันไปเลย

- เจาะกระปุกน้ำเพื่อฝังมอเตอร์ฉีดน้ำกระจกเข้าไป แล้วนำไปหามุมเหมาะๆติดตั้งในห้องเครื่อง




กระปุกเก่าๆนี่หละเหมาะกับคนเบี้ยน้อยหอยน้อย


- เอาเศษโครงฝ้าทีบาร์ มาตัดแต่ง เจาะ ฝังหัวพ่นหมอกเข้าไป เพื่อทำเป็นจุดยึด ติดตั้งเข้าไปยังจุดที่ต้องการจะฉีด ซึ่งผมเลือกฉีดย้อนกับลมที่ปะทะเข้าหน้ารถ อาจจะไม่เหมือนชาวบ้านชาวช่องเค้าสักหน่อย



ทำเสร็จแปะเทปสองหน้าไปยังจุดที่ต้องการได้เลย


- เดินสายยาง ตรงนี้สำคัญนิดนึง เนื่องจากเราจะฉีดน้ำในระดับต่ำกว่ากระปุกพัก เมื่อฉีดออกไปแล้ว มันจะกลายเป็นกาลักน้ำ เราต้องใส่วาล์วกันกลับให้อากาศมันเข้าด้วยจะได้ไม่ไหลออกเอง

** การใส่วาล์วต้องทำดังนี้  จากปั๊มน้ำ เดินท่อขึ้นมาเหนือระดับน้ำในกระปุก ใส่สามทางเข้าไป ด้านนึงต่อไปยังหัวฉีด ส่วนอีกด้าน ต่อวาล์วกันกลับหันด้านที่ลมผ่านเข้าหาตัวปั๊ม  ซึ่งถ้าที่วาล์วมันมีลูกศรอยู่ก็คือหันด้านลูกศรวิ่งเข้าหาปั๊มนั่นเอง
- เดินสายไฟเข้าสวิทซ์ ซึ่งของผมนั้นดันแปลงทำ สวิทซ์ ติดที่ขาคันเร่งเมื่อเหยียบเต็มมันจะฉีดน้ำ






อ่ะเมื่อระบบเสร็จเรียบร้อยก็ทดลองฉีดดูตามประสา จากนั้นก็ออกไปโลดแล่นได้เลย
จากที่ลอง กดฉีดๆ ไปเรื่อยก็พบว่า มันเย็นลงแฮะ หลายคนก็คงรู้ว่าถ้าเราตื่นแต่เช้าเอารถออกไปวิ่งตอนตีสี่มันวิ่งดีใช่มั้ย นี่ก็อารมณ์นั้นเลย ตีสี่ตลอด พอจอดแวะปั๊มลองจับๆท่ออินเตอร์ดูก็พบว่าเย็นลงกว่าเดิม ทั้งๆที่ซัดมาต่อเนื่องยาวนาน ระดับการบริโภคน้ำนั้นก็ไม่มากอย่างที่คิด เพราะฉีดเป็นฝอยละเอียดๆบางๆ แถมฉีดเฉพาะตอนกดคันเร่งเต็มเท่านั้น 




ทดลองฉีด *** ยิ่งฝอยละเอียดเท่าไหร่ยิ่งดี ***





ซึ่งนะถนนเมืองไทยมันจะมีที่อะไรมากมาย อีกอย่างรถคันนี้เป็นรถดีเซลเก่าๆ แช่แปบเดียว 160 ก็หมดแล้วไปต่อไม่ได้เพราะยังไม่ได้ขยับปั๊มน้ำมัน ในส่วนของการฉีดย้อนออกไปหน้ารถนั้น จะทำให้ฝอยของน้ำกระจายตัวฟุ้งๆเป็นเม็ดเล็กลงไปอีก ซอกซอนไปทุกหลืบซอกของครีบอินเตอร์คูลเลอร์ ดูดซับเอาความร้อนออกมา ส่วนที่กระจายกระจุยไปตอนโดนลมก็จะลดอุณหภูมิของอากาศที่จะวิ่งเข้ามาปะทะตัวครีบได้อีกทาง
 (ลองนึกภาพลมที่พัดมาก่อนฝนตกสิ เย็นมาวูบเลย) 

ผมจึงคิดว่าการฉีดย้อนน่าจะได้ผลดีกว่า และไม่น่าจะเนืองนองจะเล่นเอาคานผุด้วย เอาไว้ใช้ไปนานๆจะสรุปผลอย่างจริงจังนะจ๊ะ


ทิ้งท้ายไว้นิด
*** ตอนนี้เริ่มรำคาญท่อเข้าอินเตอร์แล้วมันร้อนไป ติดตาม ฉีดน้ำอินเตอร์ #ทุติยบท***



หมายเหตุ หนูทดลองในวันนี้คือ - Ford ranger 2003 WLT-turbo 4wd







รวมลิงค์บทความทั้งหมด คลิกที่นี่



บทความที่ได้รับความนิยม